เอสเธอร์ 9:5-32

เอสเธอร์ 9:5-32 พระคริสตธรรมคัมภีร์: ฉบับอ่านเข้าใจง่าย (THA-ERV)

แล้ว​ชาวยิว​ก็​โจมตี​ศัตรู​ทั้งหมด​ของ​พวกเขา​ด้วย​ดาบ พวกยิว​ฆ่า​และ​ทำลาย​พวกนั้น ชาวยิว​ทำ​กับ​คน​ที่​เกลียดชัง​พวกเขา​ตาม​ความ​พอใจ พวกยิว​ได้​ฆ่า​และ​ทำลาย​ผู้ชาย​ห้าร้อย​คน​ที่​เป็น​ศัตรู​ของ​พวกเขา​ใน​เขต​วัง​ของ​เมือง​สุสา ใน​จำนวน​นี้​มี ปารชันดาธา ดาลโฟน อัสปาธา โปราธา อาดัลยา อารีดาธา ปารมัชทา อารีสัย อารีดัย และ​ไวซาธา คน​พวกนี้​เป็น​ลูกชาย​ทั้ง​สิบคน​ของ​ฮามาน ลูก​ของ​ฮัมเมดาธา ศัตรู​ของ​พวกยิว แต่​พวกยิว​ไม่ได้​ปล้น​ข้าวของ​ของ​พวก​ศัตรู​นั้น ใน​วัน​เดียวกัน​นั้น กษัตริย์​ก็​ได้รับ​รายงาน​ถึง​จำนวน​คน​ที่​ถูกฆ่า​ใน​เขต​วัง​ของ​เมือง​สุสา พระองค์​ได้​พูด​กับ​ราชินี​เอสเธอร์​ว่า “พวก​ชาวยิว​ได้​ฆ่า​และ​ทำลาย​ผู้ชาย​ไป​ห้าร้อย​คน​ใน​เขต​วัง​ของ​เมือง​สุสา​นี้ รวมทั้ง​ลูกชาย​ทั้ง​สิบคน​ของ​ฮามาน​ด้วย พวกเขา​คง​จะ​ทำ​มาก​ยิ่งกว่า​นั้น​อีก​ใน​มณฑล​อื่นๆ​ของเรา มี​อะไร​อีกไหม​ที่​เจ้า​อยาก​จะ​ให้​จัดการ บอก​เรา​มา แล้ว​เรา​จะ​จัดการ​ให้” เอสเธอร์​ตอบ​ว่า “ถ้า​พระองค์​พอใจ ขอ​อนุญาต​ให้​พวก​ชาวยิว​ที่​อาศัย​อยู่​ใน​เขต​วัง​ของ​เมือง​สุสา ทำ​อย่าง​เดียวกัน​นี้​อีก​ใน​วันพรุ่งนี้ และ​ขอให้​เสียบ​ลูก​ทั้ง​สิบคน​ของ​ฮามาน​บน​เสาไม้” กษัตริย์​จึง​สั่ง​ให้​เป็น​ไป​ตาม​ที่​เอสเธอร์​ขอ และ​ได้​ประกาศ​ให้​มัน​เป็น​กฎหมาย​ใน​เขต​วัง​ของ​เมือง​สุสา และ​พวกเขา​ก็ได้​เสียบ​ลูกชาย​ทั้ง​สิบคน​ของ​ฮามาน จากนั้น​พวกยิว​ที่​อยู่​ใน​เมือง​ป้อม​สุสา​ก็​ได้​รวมตัว​กัน​อีกครั้ง​ใน​วันที่​สิบสี่​ของ​เดือน​อาดาร์ และ​ได้​ฆ่า​คน​ใน​เมือง​ป้อม​สุสา​ไป​อีก​สามร้อย​คน แต่​ไม่ได้​ปล้น​ข้าวของ​ของ​พวกเขา ส่วน​พวกยิว​ที่​อาศัย​อยู่​ตาม​มณฑล​ต่างๆ​ของ​กษัตริย์ ก็​ได้​รวมตัว​กัน​เพื่อ​ปกป้อง​ตัวเอง​ให้​รอดพ้น​จาก​ศัตรู พวกเขา​ได้​ฆ่า​ศัตรู​ไป​เจ็ดหมื่น​ห้าพัน​คน แต่​ไม่ได้​ปล้น​ข้าวของ​ของ​พวกเขา เหตุการณ์​เหล่านี้​เกิดขึ้น​ใน​มณฑล​ต่างๆ​ใน​วันที่​สิบสาม ของ​เดือน​อาดาร์ แล้ว​ใน​วันที่​สิบสี่ คนยิว​ก็​ได้​หยุดพัก​และ​เลี้ยง​เฉลิม​ฉลอง​กัน​ใน​วันนั้น แต่​พวก​ชาวยิว​ที่​อยู่​ใน​เขต​วัง​ของ​เมือง​สุสา​ได้​รวมตัว​กัน​เพื่อ​ปกป้อง​ตัวเอง​ใน​วันที่​สิบสาม​และ​สิบสี่​ของ​เดือน​อาดาร์ แล้ว​หยุดพัก​ใน​วันที่​สิบห้า และ​ชาวยิว​เหล่านั้น​ก็​ได้​เลี้ยง​เฉลิม​ฉลอง​กัน​ใน​วันนั้น นั่น​เป็น​เหตุ​ที่​พวก​ชาวยิว​ที่​อาศัย​อยู่​ตาม​ชนบท​ต่างๆ​ที่​ไม่มี​กำแพง​เมือง ถือ​เอา​วันที่​สิบสี่​ของ​เดือน​อาดาร์ เป็น​วันหยุด​เพื่อ​เลี้ยง​เฉลิม​ฉลอง​กัน และ​ต่าง​ก็​ส่ง​อาหาร​เป็น​ของขวัญ​ให้​แก่กัน​และกัน​ใน​วันนั้น โมรเดคัย​ได้​บันทึก​เหตุการณ์​เหล่านี้​ไว้​ทั้งหมด และ​เขา​ได้​ส่ง​จดหมาย​ไป​ถึง​ชาวยิว​ทุกคน ที่​อาศัย​อยู่​ใน​มณฑล​ทุกแห่ง​ของ​กษัตริย์​อาหสุเอรัส ทั้ง​ใกล้​และ​ไกล เขา​เขียน​ไป​ให้​กับ​ชาวยิว​ทุกคน ให้​ถือ​วันที่​สิบสี่​และ​วันที่​สิบห้า​ของ​เดือน​อาดาร์ เป็น​วันหยุด​ประจำปี เพราะ​วัน​เหล่านั้น​เป็น​วันที่​บรรดา​ชาวยิว​ได้​กำจัด​พวก​ศัตรู​ของ​พวกเขา และ​เป็น​เดือน​ที่​ความ​ทุกข์โศก​ของ​พวกเขา​ได้​กลาย​เป็น​ความ​ชื่นชม​ยินดี การ​คร่ำครวญ​ของ​พวกเขา​กลาย​เป็น​การ​เลี้ยง​ฉลอง เขา​บอก​ให้​พวกเขา​ให้​เฉลิม​ฉลอง​เลี้ยง​กัน​ใน​วัน​เหล่านั้น และ​ส่ง​อาหาร​เป็น​ของขวัญ​ให้​แก่กัน​และกัน และ​ส่ง​อาหาร​เป็น​ของขวัญ​ให้​กับ​คน​ยากจน​ด้วย ดังนั้น​ชาวยิว​จึง​ตกลง​ที่​จะ​รักษา​เทศกาล​นี้​ที่​พวกเขา​ได้​เริ่มต้น​ไว้​ตลอดไป ตาม​ที่​โมรเดคัย​ได้​เขียน​มา ฮามาน ลูกชาย​ฮัมเมดาธา ชาว​อากัก ศัตรู​ของ​พวก​ชาวยิว ได้​วางแผน​ชั่ว​เพื่อ​ทำลาย​ชาวยิว เขา​ได้​ทำการ​เสี่ยงทาย ที่​เรียกว่า “เปอร์” เพื่อ​ทำลาย​พวก​ยิว​ให้​พินาศ​สิ้น แต่​เมื่อ​กษัตริย์​ได้​ล่วงรู้​แผนการ​นั้น พระองค์​พูด​ว่า “ขอ​ให้​คำสั่ง​ชั่วร้าย​ที่​ฮามาน​เขียน​เพื่อ​ทำลาย​ชาวยิว​นี้ เกิดขึ้น​กับ​เขา​แทน” ดังนั้น​ฮามาน​และ​ลูกชาย​จึง​ถูก​เสียบ​ที่​เสาไม้ ดังนั้น ประชาชน จึง​เรียก​วัน​เหล่านั้น​ว่า “ปูริม” ซึ่ง​มา​จาก​คำว่า “เปอร์” โมรเดคัย​ได้​เขียน​จดหมาย​บอก​ให้​ชาวยิว​เฉลิม​ฉลอง​เทศกาล​นี้​ใน​สองวัน​ที่​กำหนด​นี้​ของ​ทุกปี เพื่อ​ให้​ระลึก​ถึง​สิ่ง​ที่​เกิดขึ้น​กับ​พวกเขา ดังนั้น​พวกยิว​จึง​ถือ​เป็น​ประเพณี​สำหรับ​พวกเขา​และ​ลูกหลาน​ของ​พวกเขา​ตาม​ที่​โมรเดคัย​บอก เพื่อ​พวกเขา​จะ​ถือ​เทศกาล​นี้​ไว้ และ​รักษา​ไว้​สืบ​ต่อไป​ใน​ทุกยุค​ทุกสมัย ใน​ทุก​ครอบครัว ใน​ทุก​มณฑล และ​ใน​ทุก​เมือง คนยิว​จะ​ต้อง​เฉลิม​ฉลอง​เทศกาล​ปูริม​นี้​ทุกปี​ไม่​หยุดหย่อน และ​รักษา​เทศกาล​นี้​ตลอดไป และ​ไม่​ปล่อย​ให้​มัน​หมดสิ้น​ไป​จาก​ผู้​สืบ​เชื้อสาย​ของ​ชาวยิว จากนั้น ราชินี​เอสเธอร์ ลูกสาว​อาบีฮาอิล กับ​โมรเดคัย​ชาวยิว ก็​เขียน​จดหมาย​ออกมา​อย่าง​เป็น​ทางการ เพื่อ​รับรอง​เทศกาล​ปูริม นี่​เป็น​จดหมาย​ฉบับ​ที่​สอง ซึ่ง​ถูก​ส่ง​ไป​ยัง​ชาวยิว​ทั้งหลาย ใน​หนึ่งร้อย​ยี่สิบเจ็ด​มณฑล ใน​อาณาจักร​ของ​กษัตริย์​อาหสุเอรัส ใน​จดหมาย​นั้น พวกเขา​บอก​ว่า “ขอให้​พวกท่าน​อยู่​เย็น​เป็นสุข และ​มี​ความ​มั่นคง พวกท่าน​และ​ลูกหลาน​ของ​พวกท่าน​ต้อง​ไม่​ลืม​ที่​จะ​เฉลิม​ฉลอง​เทศกาล​ปูริม​ใน​เวลา​ที่​กำหนด​ไว้​และ​ตาม​อย่าง​ที่​เรา​สั่ง และ​พวกท่าน​ก็​ต้อง​ทำ​ตาม​คำแนะนำ​เกี่ยวกับ​การ​คร่ำครวญ​และ​อด​อาหาร​ที่​เรา​สั่ง​ด้วย” กฎ​เกี่ยวกับ​เทศกาล​ปูริม​นี้​ได้​ถูก​เขียน​ขึ้นมา​ตาม​คำสั่ง​ของ​ราชินี​เอสเธอร์ และ​ได้​ถูก​จด​ไว้​ใน​หนังสือ​บันทึก​เหตุการณ์​ต่างๆ

เอสเธอร์ 9:5-32 ฉบับมาตรฐาน (THSV11)

พวกยิวจึงโจมตีศัตรูทั้งหมดของตนด้วยดาบ ฆ่าและทำลาย และทำแก่ผู้ที่เกลียดชังพวกเขาตามใจชอบ ในสุสาเมืองป้อม พวกยิวได้ฆ่าและทำลายล้างเสีย 500 คน ได้ฆ่าปารชันดาธา ดาลโฟน อัสปาธา และโปราธา อาดัลยา อารีดาธา และปารมัชทา อารีสัย อารีดัยและไวซาธา คือพวกเขาได้ฆ่าบุตรชายทั้งสิบของฮามานบุตรฮัมเมดาธา ศัตรูของพวกยิว แต่ไม่ได้ปล้นข้าวของ ในวันนั้นจำนวนคนที่ถูกฆ่าในสุสาเมืองป้อมก็ถูกนำมาเสนอกษัตริย์ กษัตริย์จึงตรัสกับพระราชินีเอสเธอร์ว่า “พวกยิวได้ฆ่าเสีย 500 คนในสุสาเมืองป้อม รวมทั้งบุตรชายทั้งสิบคนของฮามานด้วย ในมณฑลที่เหลืออยู่ของกษัตริย์ พวกเขาได้ทำอะไรกัน? บัดนี้เธอจะร้องขออะไร? เราจะให้เธอ คำทูลขอของเธอจะทูลขออะไรอีก? เราก็จะทำให้สำเร็จ” พระนางเอสเธอร์ทูลว่า “ถ้าเป็นที่พอพระทัยกษัตริย์ ในวันพรุ่งนี้ ขอให้พวกยิวที่อยู่ในสุสา ได้ทำตามกฤษฎีกาของวันนี้ และขอให้แขวนคอบุตรชายทั้งสิบของฮามานบนตะแลงแกง” กษัตริย์จึงทรงบัญชาให้ทำเช่นนั้น มีกฤษฎีกาออกในสุสา และพวกเขาแขวนคอบุตรทั้งสิบคนของฮามาน พวกยิวที่อยู่ในสุสาชุมนุมกันในวันที่สิบสี่ เดือนอาดาร์ด้วย และได้ฆ่า 300 คนในสุสา แต่พวกเขาไม่ได้ปล้นเอาข้าวของ ส่วนพวกยิวอื่นๆ ซึ่งอยู่ในมณฑลต่างๆ ของกษัตริย์ก็ชุมนุมกันเพื่อปกป้องชีวิตให้พ้นจากศัตรู และฆ่าผู้ที่เกลียดชังพวกเขาเสีย 75,000 คน แต่ไม่ได้ปล้นข้าวของ เหตุนี้เกิดขึ้นในวันที่สิบสามเดือนอาดาร์ และในวันที่สิบสี่พวกเขาหยุดพัก และทำวันนั้นให้เป็นวันกินเลี้ยงและวันยินดี แต่พวกยิวที่อยู่ในสุสาชุมนุมกันในวันที่สิบสามและวันที่สิบสี่ และหยุดพักในวันที่สิบห้า ทำวันนั้นให้เป็นวันกินเลี้ยงและวันยินดี เพราะฉะนั้น พวกยิวในชนบทที่อยู่ตามเมืองรอบนอกได้ทำวันที่สิบสี่ของเดือนอาดาร์ให้เป็นวันยินดีและวันกินเลี้ยง และเป็นวันรื่นเริง และเป็นวันที่ส่งของขวัญไปให้กันและกัน และโมรเดคัยบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้และส่งจดหมายไปยังพวกยิวทั้งหมด ผู้อยู่ในมณฑลทั้งปวงของกษัตริย์อาหสุเอรัส ทั้งใกล้และไกล ชักชวนพวกเขาให้ถือวันที่สิบสี่เดือนอาดาร์ และวันที่สิบห้าเดือนเดียวกันทุกๆ ปี เป็นวันที่พวกยิวพ้นจากศัตรู และเป็นเดือนที่เปลี่ยนความโศกเศร้าเป็นความยินดี และการคร่ำครวญเป็นวันรื่นเริงให้แก่พวกเขา และให้พวกเขาถือเป็นวันเลี้ยงฉลองและวันยินดี เป็นวันที่ส่งของขวัญแก่กันและกัน และให้ของขวัญแก่คนจน พวกยิวจึงตกลงทำตามที่พวกเขาเริ่มต้นไว้แล้ว และตามที่โมรเดคัยเขียนไปถึงพวกเขา เพราะฮามานบุตรฮัมเมดาธา คนอากัก ศัตรูของพวกยิวทั้งปวง ได้ปองร้ายต่อพวกยิวเพื่อทำลายพวกเขาและได้ทอดสลาก เพื่อล้างผลาญและทำลายพวกเขา แต่เมื่อพระนางเอสเธอร์เข้าเฝ้ากษัตริย์ พระองค์รับสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้แผนการร้ายซึ่งฮามานได้คิดต่อพวกยิวนั้นกลับตกลงบนศีรษะของเขาเอง และให้ตัวเขากับบุตรของเขาถูกแขวนบนตะแลงแกง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงเรียกวันเหล่านี้ว่าปูริม ตามคำ “ปูร์” ดังนั้น เพราะทุกอย่างที่เขียนไว้ในจดหมายนี้ และเพราะสิ่งที่พวกยิวพบเห็นในเรื่องนี้ และสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขา พวกยิวจึงกำหนดและสัญญาว่าตัวพวกเขาเอง เชื้อสายของพวกเขา และทุกคนที่เข้าจารีตยิว จะถือสองวันนี้ดังที่บันทึกไว้ และตามวันเวลาที่กำหนดไว้ทุกปีไม่เว้นเลย และสัญญาว่าจะจดจำวันดังกล่าวนี้ และถือตลอดทุกชั่วอายุคน ทุกตระกูล ทุกมณฑลและทุกเมือง วันเทศกาลปูริมนี้จะไม่เลิกถือในท่ามกลางพวกยิว หรือการระลึกถึงวันเหล่านี้จะไม่สิ้นสุดไปในเชื้อสายของพวกเขาเลย แล้วพระราชินีเอสเธอร์บุตรหญิงของอาบีฮาอิล พร้อมกับโมรเดคัยคนยิว ได้เขียนรับรองจดหมายฉบับที่สองนี้เรื่องเทศกาลปูริมอย่างหนักแน่น โมรเดคัยก็ส่งจดหมายไปถึงยิวทั้งปวงใน 127 มณฑลของอาหสุเอรัสเป็นคำอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข และให้ถือเทศกาลปูริมตามกำหนดเวลา ดังที่โมรเดคัยคนยิวและพระราชินีเอสเธอร์มีรับสั่งพวกยิว และตามที่พวกเขาตั้งไว้สำหรับตนเองและสำหรับเชื้อสายของพวกเขาเกี่ยวกับการอดอาหารและการคร่ำครวญของพวกเขา พระเสาวนีย์ของพระนางเอสเธอร์กำหนดระเบียบการของเทศกาลปูริมไว้ และมีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

เอสเธอร์ 9:5-32 พระคัมภีร์ภาษาไทยฉบับ KJV (KJV)

พวกยิวจึงโจมตี​ศัตรู​ทั้งหมดของตนด้วยฟันดาบ สังหารและทำลายเขา และทำแก่​ผู้​ที่​เกล​ียดชังเขาตามใจชอบ ในสุสาปราสาทพวกยิวได้สังหารและทำลายล้างเสียห้าร้อยคน ได้​สังหารปารชันดาธา และดาลโฟน และอัสปาธา และโปราธา และอาดัลยา และอารีดาธา และปารมัชทา และอารีสัย และอารีดัย และไวซาธา คือเขาสังหารบุตรชายทั้งสิบของฮามาน บุ​ตรชายฮัมเมดาธา ศัตรู​ของพวกยิว แต่​เขามิ​ได้​ปล้นข้าวของ ในวันนั้นจำนวนคนที่​ถู​กฆ่าในสุสาปราสาทก็​ถู​กนำมารายงานต่อเบื้องพระพักตร์​กษัตริย์ กษัตริย์​จึงตรัสกับพระราชินีเอสเธอร์​ว่า “พวกยิวได้สังหารและทำลายล้างเสียห้าร้อยคนในสุสาปราสาท รวมทั้​งบ​ุตรชายทั้งสิบคนของฮามานด้วย แล​้วเขาได้ทำอะไรกันบ้างในมณฑลที่​เหลืออยู่​ของกษั​ตริ​ย์​นั้น บัดนี้​คำร้องของพระนางคืออะไร เราจะประทานให้ คำทูลขอของพระนางมีอะไรอีกต่อไปอี​กบ​้าง เราก็จะกระทำตามนั้น” พระนางเอสเธอร์ทูลว่า “ถ้าเป็​นที​่พอพระทัยกษั​ตริ​ย์ ขอให้​พวกยิ​วท​ี่​อยู่​ในสุสาได้กระทำตามกฤษฎีกาของวันนี้ในวันพรุ่งนี้​อีก และขอให้แขวนบุตรชายทั้งสิบของฮามานบนตะแลงแกง” กษัตริย์​ได้​ทรงบัญชาให้กระทำเช่นนั้น มี​กฤษฎี​กาออกในสุสา และบุตรชายทั้งสิบคนของฮามานก็​ถู​กแขวน พวกยิ​วท​ี่​อยู่​ในสุสาชุ​มนุ​มกันในวั​นที​่​สิ​บสี่เดือนอาดาร์​ด้วย และได้สังหารสามร้อยคนในสุสา แต่​เขามิ​ได้​ริบข้าวของ ฝ่ายพวกยิ​วอ​ื่นๆซึ่งอยู่ในมณฑลของกษั​ตริ​ย์​ก็​ชุ​มนุ​มกันป้องกันชีวิต และพ้นศั​ตรู​ของเขา เขาสังหารผู้​ที่​เกล​ียดชังเขาเสียเจ็ดหมื่นห้าพันคน แต่​เขามิ​ได้​ริบข้าวของ เหตุนี้​เก​ิดขึ้นในวั​นที​่​สิ​บสามเดือนอาดาร์ และในวั​นที​่​สิ​บสี่เขาหยุดพัก และกระทำวันนั้นให้เป็​นว​ั​นก​ินเลี้ยงและยินดี แต่​พวกยิ​วท​ี่​อยู่​ในสุสาชุ​มนุ​มกันในวั​นที​่​สิ​บสามและวั​นที​่​สิ​บสี่ และหยุดพักในวั​นที​่​สิบห้า ทำให้​วันนั้นเป็​นว​ั​นก​ินเลี้ยงและยินดี เพราะฉะนั้นพวกยิวในชนบท ที่อยู่​ตามหัวเมืองที่​ไม่มี​กำแพง ถือวั​นที​่​สิ​บสี่ของเดือนอาดาร์เป็​นว​ันแห่งความยินดีและกินเลี้ยง และถือเป็​นว​ั​นร​ื่นเริง และเป็​นว​ั​นที​่เขาส่งของขวัญไปให้​กันและกัน และโมรเดคัยบันทึกเรื่องนี้และส่งจดหมายไปยังพวกยิ​วท​ั้งปวงผู้​อยู่​ในมณฑลทั้งปวงของกษั​ตริ​ย์อาหสุเอรัส ทั้งใกล้และไกล ชักชวนเขาให้ถือวั​นที​่​สิ​บสี่เดือนอาดาร์ และวั​นที​่​สิ​บห้าเดือนเดียวกันทุกๆปี เป็​นว​ั​นที​่พวกยิวพ้นจากศั​ตรู​ของเขา และเป็นเดือนที่​เปล​ี่ยนความโศกเศร้าเป็นความยินดี และการคร่ำครวญเป็​นว​ั​นร​ื่นเริงให้​แก่​เขา และให้เขาถือเป็​นว​ั​นก​ินเลี้ยงและวันยินดี เป็​นว​ั​นที​่ส่งของขวัญแก่​กันและกัน และให้ของขวัญแก่​คนจน พวกยิวจึงตกลงกระทำตามที่เขาตั้งต้นแล้ว และตามที่โมรเดคัยเขียนไปถึงเขา เพราะฮามานบุตรชายฮัมเมดาธา คนอากัก ศัตรู​ของพวกยิ​วท​ั้งปวง ได้​ปองร้ายต่อพวกยิวเพื่อทำลายเขา ได้​ทอดเปอร์ คือสลาก เพื่อล้างผลาญและทำลายเขา แต่​เมื่อพระนางเอสเธอร์​เข​้าเฝ้ากษั​ตริ​ย์ พระองค์​ทรงบัญชาเป็นลายลักษณ์อักษรให้แผนการมุ่งร้ายของท่าน ซึ่งท่านได้คิดต่อพวกยิ​วน​ั้น กล​ับตกลงบนศีรษะของท่านเอง และให้ตั​วท​่านกับบุตรชายของท่านถูกแขวนบนตะแลงแกง เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกวันเหล่านี้​ว่า เปอร์​ริม ตามคำเปอร์ ดังนั้น เพราะทุกอย่างที่​เข​ียนไว้ในจดหมายนี้ และเพราะสิ่งที่พวกยิวต้องเผชิญในเรื่องนี้ และสิ่งที่​อุบัติ​แก่​เขา พวกยิ​วก​็กำหนดและรับว่าตัวเขาเอง เชื้อสายของเขา และบรรดาผู้​ที่​เข​้าจารีตยิวจะถือสองวันนี้​ดังที่​เข​ียนไว้ และตามเวลาที่กำหนดไว้​ทุกปี​มิได้​ขาด และว่าจะจดจำวันเหล่านี้ และถือตลอดทุกชั่วอายุ ทุ​กครอบครัว มณฑลและเมือง วันเทศกาลเปอร์ริ​มน​ี้จะไม่เลิกถือในท่ามกลางพวกยิว หรือการระลึกถึงวันเหล่านี้จะไม่​สิ​้นลงในเชื้อสายของเขาเลย แล​้วพระราชินีเอสเธอร์ ธิดาของอาบีฮาอิล กับโมรเดคัยคนยิว ก็​เข​ียนเป็นลายลักษณ์อักษรรับรองจดหมายฉบั​บท​ี่สองนี้เรื่องเทศกาลเปอร์​ริม ให้​ส่งจดหมายไปถึงยิ​วท​ั้งปวงในหนึ่งร้อยยี่​สิ​บเจ็ดมณฑลในราชอาณาจักรของอาหสุเอรัส เป็นคำที่​แท้​จร​ิงให้​อยู่​เย็นเป็นสุข และให้ถือวันเทศกาลเปอร์ริมเหล่านี้ตามกำหนดฤดู​กาล ดังที่​โมรเดคัยคนยิวและพระราชินีเอสเธอร์​มี​พระเสาวนีย์สั่งพวกยิว และตามที่เขาตั้งไว้สำหรับตนเองและสำหรับเชื้อสายของเขา เก​ี่ยวกับการอดอาหารและการร้องทุกข์ของเขา พระบัญชาของพระนางเอสเธอร์ตั้งระเบียบการเทศกาลเปอร์ริมไว้และมีบันทึกไว้ในหนังสือ

เอสเธอร์ 9:5-32 พระคัมภีร์ไทย ฉบับ 1971 (TH1971)

พวกยิวจึงโจมตีศัตรูทั้งหมดของตนด้วยดาบ ฆ่าและทำลายเขา และทำแก่ผู้ที่เกลียดชังเขาตามใจชอบ ในสุสาเมืองป้อมพวกยิวได้ฆ่าและทำลายล้าง เสียห้าร้อยคน ได้ฆ่าปารชันดาธาและดาลโฟนและอัสปาธา และโปราธาและอาดัลยาและอารีดาธา และปารมัชทาและอารีสัยและอารีดัยและไวซาธา บุตรชายทั้งสิบของฮามานบุตรฮัมเมดาธา ศัตรูของพวกยิว แต่เขามิได้ปล้นข้าวของ ในวันนั้นจำนวนคนที่ถูกฆ่าในสุสาเมือง ป้อมก็ถูกนำมาเสนอพระราชา พระราชาจึงตรัสกับพระราชินีเอสเธอร์ว่า <<พวกยิวได้ฆ่าเสียห้าร้อยคนในสุสาเมืองป้อม รวมทั้งบุตรชายทั้งสิบคนของฮามานด้วย ในมณฑลของพระราชาที่เหลืออยู่นั้น เขาได้ทำอะไรกัน บัดนี้คำร้องของพระนางคืออะไร เราจะประทานให้ คำทูลของพระนางต่อไปมีอะไรอีก เราก็จะกระทำ ให้สำเร็จ>> พระนางเอสเธอร์ทูลว่า <<ถ้าเป็นที่พอพระทัยพระราชา ขอให้พวกยิวที่อยู่ในสุสา ได้กระทำตามกฤษฎีกาของวันนี้ในวันพรุ่งนี้อีก และขอให้แขวนบุตรชายทั้งสิบของฮามานบนตะแลงแกง>> พระราชาได้ทรงบัญชาให้กระทำเช่นนั้น มีกฤษฎีกาออกในสุสา และบุตรทั้งสิบคนของฮามานก็ถูกแขวนบนตะแลงแกง พวกยิวที่อยู่ในสุสาชุมนุมกันในวันที่สิบสี่ เดือนอาดาร์ด้วย และได้ฆ่าสามร้อยคนในสุสา แต่เขามิได้ริบข้าวของ ฝ่ายพวกยิวอื่นๆซึ่งอยู่ในมณฑลของพระราชาก็ ชุมนุมกันป้องกันชีวิต และพ้นศัตรูของเขา เขาฆ่าผู้ที่เกลียดชังเขาเสียเจ็ดหมื่นห้าพันคน แต่เขามิได้ริบข้าวของ เหตุนี้เกิดขึ้นในวันที่สิบสามเดือนอาดาร์ และในวันที่สิบสี่เขาหยุดพัก และกระทำวันนั้นให้เป็นวันกินเลี้ยงและยินดี แต่พวกยิวที่อยู่ในสุสาชุมนุมกันในวันที่สิบสามและวันที่สิบสี่ และหยุดพักในวันที่สิบห้า ทำให้วันนั้นเป็นวันกินเลี้ยงและยินดี เพราะฉะนั้นพวกยิวในชนบท ที่อยู่ตามหัวเมืองที่มีกำแพงถือวันที่สิบสี่ของเดือนอาดาร์ เป็นวันแห่งความยินดีและกินเลี้ยง และถือเป็นวันรื่นเริง และเป็นวันที่เขาส่ง ของขวัญไปให้กันและกัน และโมรเดคัยบันทึกเรื่องนี้และส่ง จดหมายไปยังพวกยิวทั้งปวง ผู้อยู่ในมณฑลทั้งปวงของกษัตริย์อาหสุเอรัส ทั้งใกล้และไกล ชักชวนเขาให้ถือวันที่สิบสี่เดือนอาดาร์ และวันที่สิบห้าเดือนเดียวกันทุกๆปี เป็นวันที่พวกยิวพ้นจากศัตรูของเขา และเป็นเดือนที่เปลี่ยนความโศกเศร้าเป็นความยินดี และการคร่ำครวญเป็นวันรื่นเริงให้แก่เขา และให้เขาถือเป็นวันกินเลี้ยงและวันยินดี เป็นวันที่ส่งของขวัญแก่กันและกัน และให้ของขวัญแก่คนจน พวกยิวจึงตกลงกระทำตามที่เขาตั้งต้นแล้ว และตามที่โมรเดคัยเขียนไปถึงเขา เพราะฮามานบุตรฮัมเมดาธาคนอากัก ศัตรูของพวกยิวทั้งปวง ได้ปองร้ายต่อพวกยิวเพื่อทำลายเขาได้ทอดเปอร์ คือสลาก เพื่อล้างผลาญและทำลายเขา แต่เมื่อพระนางเอสเธอร์เข้าเฝ้าพระราชา พระองค์ทรงรับสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้แผนการมุ่งร้าย ของท่าน ซึ่งท่านได้คิดต่อพวกยิวนั้นกลับตกลงบนศีรษะของท่านเอง และให้ตัวท่านกับบุตรของท่านถูกแขวนบนตะแลงแกง เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกวันเหล่านี้ว่าปูริม ตามคำเปอร์ ดังนั้น เพราะทุกอย่างที่เขียนไว้ในจดหมายนี้ และเพราะสิ่งที่พวกยิวต้องเผชิญในเรื่องนี้ และสิ่งที่อุบัติแก่เขา พวกยิวก็กำหนดและรับว่าตัวเขาเอง เชื้อสายของเขา และบรรดาผู้ที่เข้าจารีต ยิวจะถือสองวันนี้ดังที่เขียนไว้ และตามเวลาที่กำหนดไว้ทุกปีมิได้ขาด และว่าจะจดจำวันเหล่านี้ และถือตลอดทุกชั่วชาติพันธุ์ ทุกตระกูล มณฑลและเมือง วันเทศกาลปูริมนี้จะไม่เลิกถือในท่ามกลางพวกยิว หรือการระลึกถึงวันเหล่านี้จะไม่สิ้นลงในเชื้อสาย ของเขาเลย แล้วพระราชินีเอสเธอร์ธิดาของอาบีฮาอิล กับโมรเดคัยคนยิว ก็เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรับรองจดหมายฉบับที่สอง นี้เรื่องเทศกาลปูริม ให้ส่งจดหมายไปถึงยิวทั้งปวงในหนึ่งร้อยยี่สิบเจ็ด มณฑลของอาหสุเอรัสเป็นคำอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข และให้ถือวันเทศกาลปูริมเหล่านี้ตามกำหนดฤดูกาล ดังที่โมรเดคัยคนยิวและพระราชินีเอสเธอร์มี พระเสาวนีย์สั่งพวกยิว และตามที่เขาตั้งไว้สำหรับตนเองและสำหรับเชื้อสาย ของเขา เกี่ยวกับการอดอาหารและการร้องทุกข์ของเขา พระบัญชาของพระราชินีเอสเธอร์ตั้ง ระเบียบการเทศกาลปูริมไว้ และมีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

เอสเธอร์ 9:5-32 พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย (TNCV)

ชาวยิวฆ่าฟันและทำลายล้างศัตรูผู้เกลียดชังตนได้ตามใจชอบ ชาวยิวฆ่าฟันและทำลายศัตรูไปห้าร้อยคนในป้อมเมืองสุสา พวกเขายังฆ่าปารชันดาธา ดาลโฟน อัสปาธา โปราธา อาดัลยา อารีดาธา ปารมัชทา อารีสัย อารีดัย ไวซาธา ซึ่งเป็นบุตรชายทั้งสิบของฮามานบุตรฮัมเมดาธาศัตรูของชาวยิว แต่พวกเขาไม่ได้ริบข้าวของ ในวันเดียวกันนั้นมีผู้กราบทูลรายงานจำนวนผู้ถูกฆ่าในป้อมเมืองสุสาแก่กษัตริย์ พระองค์จึงตรัสกับพระนางเอสเธอร์ว่า “ชาวยิวได้เข่นฆ่าทำลายล้างคนห้าร้อยคนในป้อมเมืองสุสานี้ รวมทั้งบุตรชายสิบคนของฮามานด้วย พวกเขาทำอะไรกับมณฑลอื่นๆ ของเรา? ตอนนี้เจ้าจะขออะไรอีก? เราจะให้ บอกมาเถิดเจ้าปรารถนาอะไร? เราจะให้” เอสเธอร์ทูลว่า “หากฝ่าพระบาทจะทรงกรุณา ขออนุญาตให้ชาวยิวที่ป้อมเมืองสุสานี้ทำตามพระราชโองการอย่างวันนี้อีกในวันพรุ่งนี้และขอให้แขวนบุตรชายทั้งสิบคนของฮามานบนตะแลงแกง” ฉะนั้นกษัตริย์ทรงมีพระราชโองการที่ป้อมเมืองสุสา ร่างบุตรชายทั้งสิบของฮามานก็ถูกแขวนบนตะแลงแกง ชาวยิวในป้อมเมืองสุสารวมตัวกันอีกในวันที่สิบสี่เดือนอาดาร์และสังหารศัตรูอีกสามร้อยคน แต่ไม่ได้ริบข้าวของ ในขณะเดียวกันชาวยิวอื่นๆ ทั่วจักรวรรดิรวมตัวกันปกป้องชีวิตของตนเองและทำลายศัตรูทั้งปวง สังหารพวกนั้นไป 75,000 คน แต่ไม่ได้ริบข้าวของ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่สิบสามเดือนอาดาร์ และพวกเขาหยุดพักในวันที่สิบสี่ และตั้งเป็นวันฉลองรื่นเริงยินดี ส่วนชาวยิวที่ป้อมเมืองสุสาชุมนุมกันในวันที่สิบสามและวันที่สิบสี่ แล้วหยุดพักในวันที่สิบห้า และตั้งเป็นวันฉลองรื่นเริงยินดี ด้วยเหตุนี้ชาวยิวในชนบทผู้อาศัยในหมู่บ้านต่างๆ ฉลองกันในวันที่สิบสี่เดือนอาดาร์ เป็นวันฉลองรื่นเริงยินดีและมอบของขวัญแก่กันและกัน โมรเดคัยบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ และเขียนจดหมายไปถึงชาวยิวทั้งใกล้และไกล ทั่วทุกมณฑลของกษัตริย์เซอร์ซีส ให้เฉลิมฉลองประจำปีในวันที่สิบสี่และสิบห้าเดือนอาดาร์ เป็นโอกาสที่ชาวยิวปลอดพ้นจากศัตรู เดือนที่ความโศกเศร้ากลับกลายเป็นความรื่นเริงยินดี และการคร่ำครวญไว้ทุกข์กลับกลายเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลอง จึงให้ถือเป็นวันฉลองรื่นเริง มอบอาหารให้แก่กันและกัน และให้ของขวัญแก่คนยากจน ชาวยิวจึงเห็นพ้องต้องกันที่จะยึดถือการเฉลิมฉลองสืบไปตามที่โมรเดคัยเขียนบอก ด้วยว่าฮามานบุตรฮัมเมดาธาชาวอากักศัตรูของชาวยิวทั้งปวงได้วางแผนจะทำลายพวกตนตามเวลาซึ่งกำหนดโดยการทอดสลากที่เรียกว่าเปอร์ แต่เมื่อแผนการนี้รู้ถึงองค์กษัตริย์ พระองค์ทรงประกาศพระราชโองการที่ทำให้แผนการอันชั่วร้ายของฮามานหวนกลับไปเล่นงานตัวเขาเอง ตัวฮามานและบุตรต้องถูกแขวนบนตะแลงแกง (เทศกาลนี้จึงได้ชื่อว่าปูริม มาจากคำว่า “เปอร์”) เนื่องด้วยทุกสิ่งที่เขียนไว้ในจดหมายนั้น และเนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาได้เห็นและได้เกิดขึ้นกับพวกเขา ชาวยิวเห็นชอบที่จะตั้งธรรมเนียมขึ้นซึ่งพวกเขาและลูกหลาน ตลอดจนทุกคนที่มาเข้าเป็นพวกจะฉลองทั้งสองวันนี้ตามวิธีและวาระที่กำหนดทุกปีไม่ให้ขาด วันเหล่านี้จะเป็นวันรำลึกซึ่งยึดถือกันตลอดไปทุกชั่วอายุ ทุกครอบครัว ในทุกหัวเมือง และในทุกมณฑล ชาวยิวจะฉลองเทศกาลปูริมสองวันนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ตลอดไปตราบชั่วลูกหลาน พระราชินีเอสเธอร์ธิดาอาบีฮายิลจึงร่วมกับโมรเดคัยชาวยิวเขียนจดหมายรับรองด้วยสิทธิอำนาจเต็มที่ ยืนยันจดหมายฉบับที่สองนี้ซึ่งเกี่ยวกับปูริม และโมรเดคัยส่งสาส์นไปถึงชาวยิวทั้งปวงทั่ว 127 มณฑลในจักรวรรดิของกษัตริย์เซอร์ซีส อวยพรให้อยู่ดีมีสุขและมั่นคง ให้ยึดถือสองวันนี้เป็นเทศกาลปูริมประจำปี เป็นคำสั่งของโมรเดคัยชาวยิวและเป็นพระราชเสาวนีย์ของพระราชินีเอสเธอร์ ชาวยิวเองก็ได้ลงมติให้ประเพณีนี้เป็นอนุสรณ์สืบทอดไปถึงลูกหลาน รำลึกถึงวาระที่ชนทั้งชาติร่วมกันถืออดอาหารและคร่ำครวญ พระราชเสาวนีย์ของเอสเธอร์รับรองกฎระเบียบเกี่ยวกับปูริม และมีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

เอสเธอร์ 9:5-32 พระคัมภีร์ ฉบับแปลใหม่ (NTV) (NTV)

ชาว​ยิว​ใช้​ดาบ​โจมตี​ศัตรู​ของ​ตน ฆ่า​และ​กำจัด​พวก​เขา และ​กระทำ​ต่อ​คน​ที่​เกลียด​พวก​เขา​ตาม​ใจ​ชอบ เพียง​แต่​ใน​สุสา​เมือง​ป้อม​ปราการ ชาว​ยิว​ได้​ฆ่า​และ​กำจัด​ชาย 500 คน และ​ได้​ฆ่า​ปาร์ชันดาธา ดาลโฟน อัสปาธา โปราธา อาดัลยา อารีดาธา ปาร์มชทา อารีสัย อารีดัย และ​ไวซาธา คือ​บุตร​ชาย​ทั้ง​สิบ​ของ​ฮามาน​บุตร​ของ​ฮัมเมดาธา​ศัตรู​ของ​ชาว​ยิว แต่​พวก​เขา​ไม่​ได้​ริบ​ข้าว​ของ​ไป ใน​วัน​นั้น กษัตริย์​ได้​รับ​รายงาน​จำนวน​ของ​พวก​ที่​ถูก​ฆ่า​ใน​สุสา​เมือง​ป้อม​ปราการ กษัตริย์​กล่าว​กับ​ราชินี​เอสเธอร์​ว่า “ชาว​ยิว​ได้​ฆ่า​และ​กำจัด​ชาย 500 คน กับ​บุตร​ชาย​ทั้ง​สิบ​ของ​ฮามาน​ใน​สุสา​เมือง​ป้อม​ปราการ และ​พวก​เขา​ได้​ทำ​อะไร​บ้าง​ใน​แคว้น​อื่นๆ ของ​เรา บัดนี้ เธอ​อยาก​ได้​อะไร เธอ​ก็​จะ​ได้ และ​เธอ​จะ​ขอ​อะไร​อีก เธอ​ก็​จะ​ได้​รับ” เอสเธอร์​ตอบ​ว่า “ถ้า​จะ​เป็น​ที่​พอใจ​ของ​กษัตริย์ พรุ่งนี้​ขอ​ให้​ชาว​ยิว​ใน​สุสา​ได้​รับ​อนุญาต​ปฏิบัติ​ตาม​กฤษฎีกา​ของ​วัน​นี้ และ​แขวน​คอ​บุตร​ทั้ง​สิบ​ของ​ฮามาน​บน​ตะแลงแกง​เถิด” กษัตริย์​จึง​บัญชา​ให้​ทำ​ตาม​นั้น กฤษฎีกา​ออก​ใน​สุสา บุตร​ชาย​ทั้ง​สิบ​ของ​ฮามาน​ก็​ถูก​แขวน​คอ บรรดา​ชาว​ยิว​ที่​อยู่​ใน​สุสา​ร่วม​กัน​ฆ่า​ชาย 300 คน​ใน​สุสา​ใน​วัน​ที่​สิบ​สี่​ของ​เดือน​อาดาร์ แต่​พวก​เขา​ไม่​ได้​ริบ​ข้าว​ของ​ไป ส่วน​ชาว​ยิว​ที่​เหลือ​ใน​แคว้น​อื่นๆ ของ​กษัตริย์ ก็​ได้​ร่วม​กัน​ปกป้อง​ชีวิต​ของ​ตน และ​พ้น​จาก​การ​รังควาน​ของ​พวก​ศัตรู​ของ​เขา และ​ฆ่า​คน 75,000 คน​ที่​เกลียด​ชัง​พวก​เขา แต่​พวก​เขา​ไม่​ได้​ริบ​ข้าว​ของ​ไป สิ่ง​เหล่า​นี้​เกิด​ขึ้น​ใน​วัน​ที่​สิบ​สาม​ของ​เดือน​อาดาร์ และ​ใน​วัน​ที่​สิบ​สี่ พวก​เขา​หยุด​พัก​และ​จัด​ให้​เป็น​วัน​ที่​มี​งาน​เลี้ยง​และ​วัน​ยินดี ฝ่าย​ชาว​ยิว​ที่​อยู่​ใน​สุสา​ก็​ปฏิบัติ​ร่วม​กัน​ใน​วัน​ที่​สิบ​สาม​และ​สิบ​สี่ และ​หยุด​พัก​ใน​วัน​ที่​สิบ​ห้า จัด​วัน​นั้น​ให้​เป็น​วัน​ที่​มี​งาน​เลี้ยง​และ​วัน​ยินดี ฉะนั้น ชาว​ยิว​จาก​หมู่​บ้าน​ที่​อาศัย​อยู่​ใน​ชนบท​ใช้​วัน​ที่​สิบ​สี่​ของ​เดือน​อาดาร์ เป็น​วัน​ยินดี​และ​มี​งาน​เลี้ยง​เช่น​วัน​หยุด และ​เป็น​วัน​ที่​พวก​เขา​มอบ​อาหาร​เป็น​ของ​ขวัญ​ให้​แก่​กัน​และ​กัน โมร์เดคัย​บันทึก​เรื่อง​เหล่า​นี้ และ​ส่ง​จดหมาย​ถึง​ชาว​ยิว​ทั้ง​ปวง​ที่​อยู่​ใน​ทุก​แคว้น​ของ​กษัตริย์​อาหสุเอรัส ทั้ง​ใกล้​และ​ไกล เพื่อ​ให้​พวก​เขา​ร่วม​กัน​ถือ​วัน​ที่​สิบ​สี่​และ​วัน​ที่​สิบ​ห้า​ของ​เดือน​อาดาร์ เป็น​ประจำ​ทุก​ปี เป็น​วัน​ที่​ชาว​ยิว​พ้น​ภัย​จาก​ศัตรู​ของ​พวก​เขา และ​เป็น​เดือน​ที่​เปลี่ยน​จาก​ความ​เศร้า​เป็น​ความ​ยินดี และ​จาก​วัน​ไว้​อาลัย​เป็น​วัน​ฉลอง พวก​เขา​ตั้ง​ให้​เป็น​วัน​แห่ง​งาน​เลี้ยง​และ​ความ​ยินดี วัน​มอบ​อาหาร​เป็น​ของ​ขวัญ​ให้​แก่​กัน​และ​กัน และ​มอบ​ของ​ขวัญ​ให้​แก่​คน​ยากไร้ ดังนั้น ชาว​ยิว​เห็น​ด้วย​ที่​จะ​รักษา​วัน​ฉลอง​เหมือน​ที่​เริ่ม​กระทำ​มา​แล้ว และ​กระทำ​ตาม​สิ่ง​ที่​โมร์เดคัย​ได้​เขียน​ถึง​พวก​เขา เพราะ​ฮามาน​ชาว​อากัก​บุตร​ของ​ฮัมเมดาธา ผู้​เป็น​ศัตรู​ของ​ชาว​ยิว​ทั้ง​ปวง เขา​ได้​วาง​แผน​ต่อต้าน​ชาว​ยิว​เพื่อ​กำจัด​พวก​เขา และ​ได้​จับ​ฉลาก​ซึ่ง​เรียก​ว่า “ปูร์” เพื่อ​เจาะจง​หา​วัน​ที่​จะ​ทำลาย​และ​กำจัด​พวก​เขา แต่​เมื่อ​เรื่อง​เป็น​ที่​ทราบ​ของ​กษัตริย์ ท่าน​ออก​คำ​สั่ง​เป็น​ตัว​อักษร​ว่า แผน​การ​ชั่ว​ร้าย​ของ​เขา​ที่​มี​ต่อ​ชาว​ยิว​นั้น​ควร​กลับ​ไป​ลง​โทษ​ตัว​เขา​เอง และ​ฮามาน​กับ​บรรดา​บุตร​ชาย​ของ​เขา​ควร​ถูก​แขวน​คอ​บน​ตะแลงแกง ฉะนั้น พวก​เขา​จึง​เรียก​วัน​นั้น​ว่า ปูริม ตาม​คำ​เรียก “ปูร์” ฉะนั้น เป็น​เพราะ​ทุก​สิ่ง​ที่​เขียน​ใน​จดหมาย​นี้ และ​เพราะ​สิ่ง​ที่​พวก​เขา​ได้​เผชิญ​รวม​ไป​ถึง​สิ่ง​ที่​ได้​เกิด​ขึ้น​กับ​พวก​เขา บรรดา​ชาว​ยิว ผู้​สืบ​เชื้อสาย​ของ​พวก​เขา และ​ทุก​คน​ที่​ร่วม​กัน​กับ​พวก​เขา ต่าง​ก็​หมั่น​ปฏิบัติ​รักษา​ทั้ง 2 วัน​นี้ ตาม​เรื่อง​ที่​เขียน​ไว้​โดย​ไม่​เว้น และ​ตาม​เวลา​ที่​กำหนด​ไว้​ของ​ทุก​ปี วัน​ดัง​กล่าว​ควร​จะ​เป็น​ที่​จดจำ​และ​รักษา​ตลอด​ทุก​ชั่ว​อายุ​คน ทุก​ตระกูล แคว้น และ​เมือง และ​ไม่​ควร​หยุด​ฉลอง​วัน​ปูริม​ใน​หมู่​ชาว​ยิว​เป็น​อัน​ขาด และ​บรรดา​ลูก​หลาน​ไม่​ควร​หยุด​ระลึก​ถึง​เหตุการณ์​นี้​ตลอด​ไป ราชินี​เอสเธอร์​บุตร​หญิง​ของ​อาบีฮาอิล กับ​โมร์เดคัย​ชาว​ยิว​ก็​ได้​เขียน​มอบ​อำนาจ​เป็น​ทาง​การ เพื่อ​รับรอง​จดหมาย​ฉบับ​ที่​สอง​นี้​เรื่อง​วัน​ปูริม จดหมาย​ถูก​ส่ง​ไป​ยัง​ชาว​ยิว​ทั้ง​ปวง​ใน 127 แคว้น​ของ​กษัตริย์​อาหสุเอรัส ด้วย​คำ​พูด​แห่ง​สันติสุข​และ​ความ​จริง คือ​วัน​ปูริม​นี้​ควร​รักษา​ตาม​กาล​เวลา​ที่​กำหนด​ไว้ ตาม​ที่​โมร์เดคัย​ชาว​ยิว​และ​ราชินี​เอสเธอร์​ร่วม​กระทำ​การ​ให้​มี​วัน​นี้​ตั้ง​ขึ้น​มา​ได้ ทั้ง​สอง​และ​บรรดา​ผู้​สืบ​เชื้อสาย​ได้​มี​ส่วน​ใน​การ​อด​อาหาร​และ​ร้อง​คร่ำครวญ สิ่ง​ที่​ราชินี​เอสเธอร์​ขอ​ให้​มี​ใน​กฤษฎีกา​นั้น​ระบุ​อย่าง​ชัดเจน​เกี่ยว​กับ​วัน​ปูริม ซึ่ง​มี​การ​บันทึก​ไว้​แล้ว